http://thaicursor.blogspot.com  getcode

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ลักษณะคำประพันธ์

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการสร้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
เรื่องย่อ
 เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งภูมิอากาศเอื้อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาเท่าที่ควร และส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้ จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่กวีทั้งสองท่านกลับมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่ต่างกัน
ข้อคิดที่ได้รับ
เราควรรู้คุณค่าของข้าวที่รับประทานกันอยู่ทุกวันว่า กว่าจะได้เมล็ดข้าวมาแต่ละเม็ดล้วนเกิดจากความเหนื่อยยากของชาวนา เพราะฉะนั้นไม่ควรกินทิ้งกินขว้างให้เสียประโยชน์
    1.ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ
    2.ทำให้ได้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว
    3.ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานกันเป็นอาหารหลักใน       การดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์
      ผู้แต่ง:   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ " สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น
ความเป็นมา
บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๓ รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑
            หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัตน์, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด, นิทิศบรรณา, สาราจากใจ และมาลัยปกิณกะ
             ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษาเป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย, การใช้สรรพนาม, วิจารณ์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลี และทุกข์ของชาวนาในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองที่จะนำมาศึกษาในบทเรียนนี้